ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ให้ความสำคัญกับการศึกษา “พฤติกรรม” เป็นหลักและเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตและวัดได้จากพฤติกรรมภายนอก

โดย “พฤติกรรม” คือ การตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ซึ่งสิ่งเร้าเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่กำหนดไว้

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

ADVERTISEMENT

แนวคิดของ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

นักทฤษฎีการศึกษากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งต้องกำหนดประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกไว้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยประสบการณ์ดังกล่าวหากมีการกระทำซ้ำ ๆ จะกลายเป็นกิจวัตรที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบของการเรียนรู้ตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่

  • แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียนในบางสิ่งบางอย่างที่จูงใจ (Motivated) ให้ผู้เรียนหาหนทางตอบสนองตามความต้องการนั้น
  • สิ่งเร้า (Stimulus) หมายถึง สิ่งที่เข้ามากระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิกิริยาการตอบสนองเกิดเป็นพฤติกรรมขึ้น ซึ่งได้แก่ การให้สาระความรู้ (Message) ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งชี้แนะ (Cue)
  • การตอบสนอง (Response) หมายถึง การที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอธิบาย ด้วยพฤติกรรมที่ปรากฏ
  • การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของผู้เรียนประกอบด้วยการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบ โดยนิยมใช้รูปแบบการ เสริมแรงจากภายนอก เช่น การให้รางวัล หรือการลงโทษ

นักทฤษฎีการศึกษากลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่


Ivan Petrovich Pavlov (ค.ศ. 1849-1936) – นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย


John Broadus Watson (ค.ศ.1878–1958) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน


Edward Lee Thorndike (ค.ศ.1874-1949) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

Burrhus Frederic Skinner (ค.ศ.1904–1990) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ​

  TRENDING
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)
18 hours ago
คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง
21 hours ago
โรคผมร่วงเป็นหย่อม – ALOPECIA คือ ?
6 months ago
Hologram คือ อะไร? (โฮโลแกรม)
6 months ago
การล้างไตทางช่องท้อง คือ
6 months ago
Next
Prev