Sunday, May 29, 2022
No Result
View All Result
JAHNNOOM.COM
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
No Result
View All Result
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค ของ Ivan Pavlov

การทดลองวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค หนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม

Noom Atthachai by Noom Atthachai
Reading Time: 8 mins read
3 0
3
SHARES
48
VIEWS
แชร์ลงเฟสบุ๊คแชร์ผ่านทวิตเตอร์แชร์ผ่านไลน์
ADVERTISEMENT

คงคล้าย ๆ กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่หลายอย่าง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข การทดลองของ Pavlov (หรือที่เรียกว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก) ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย Ivan Petrovich Pavlov (1849–1936) ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเพียงนักสรีรวิทยา ไม่ใช่นักจิตวิทยาผู้โด่งดังอย่างที่เรารู้จัก

Ivan Petrovich Pavlov (1849–1936)
นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคการค้นพบ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค

ในช่วงทศวรรษที่ 1890 Ivan Pavlov นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียกำลังค้นคว้าเรื่อง การน้ำลายไหลของสุนัขที่ตอบสนองต่อการให้อาหาร โดยเขาสอดหลอดทดลองขนาดเล็กเข้าไปในแก้มของสุนัขแต่ละตัวเพื่อตรวจน้ำลายของสุนัข เมื่อได้รับอาหาร (ด้วยผงที่ทำจากเนื้อสัตว์) เดิมที Pavlov ทำนายว่าสุนัขจะหลั่งน้ำลายเพื่อตอบสนองต่ออาหารที่วางอยู่ข้างหน้า แต่เขาสังเกตเห็นว่าสุนัขของเขาจะเริ่มน้ำลายไหลเมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเสียงฝีเท้าของผู้ช่วยของเขาที่นำอาหารมาให้พวกมัน

เมื่อพาฟลอฟค้นพบว่าวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สุนัขเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงกับอาหาร (เช่น ผู้ช่วยในห้องแล็บ) จะกระตุ้นการตอบสนองแบบเดียวกัน เขาตระหนักว่าเขาได้ค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ดังนั้นเขาจึงอุทิศเวลาที่เหลือในอาชีพการงานของเขาเพื่อศึกษาการเรียนรู้ประเภทนี้ และกลายมาเป็นนักจิตวิทยาในที่สุด

รายละเอียดของ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค

Pavlov (1902) เริ่มต้นจากแนวคิดที่ว่า มีบางสิ่งที่สุนัขไม่จำเป็นต้องฝึกเลย ตัวอย่างเช่น สุนัขไม่ต้องฝึกให้มีน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร ปฏิกริยานี้เป็น ‘สัญชาตญาณ’ ในสุนัข ซึ่งในแง่ของ พฤติกรรมนิยม อาหารเป็นสิ่งกระตุ้นที่ไม่มีเงื่อนไข และน้ำลายเป็นการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (กล่าวคือ การเชื่อมต่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการการเรียนรู้)

ในการทดลองของเขา Pavlov ใช้กระดิ่ง (Metronome) เป็นตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง เพราะกระดิ่งไม่ได้กระตุ้นการตอบสนองจากสุนัข หรือทำให้สุนัขน้ำลายไหล

ต่อมา Pavlov ได้เริ่มขั้นตอนการวางเงื่อนไข โดยเริ่มสั่นกระดิ่งก่อนที่เขาจะให้อาหารแก่สุนัข หลังจากทำซ้ำแบบนี้อยู่หลายครั้ง ทีนี้เขาก็ลองสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้อาหาร อย่างที่น่าจะเดาได้ ตอนนี้เสียงของกระดิ่งก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลแล้วนั่นเอง

ดังนั้น สุนัขจึงได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างกระดิ่งกับอาหาร และได้เรียนรู้พฤติกรรมใหม่ เนื่องจากการตอบสนองนี้สร้างการเรียนรู้ (หรือแบบมีเงื่อนไข) จึงเรียกว่าการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข (และเรียกอีกอย่างว่าการตอบสนองของ Pavlov) สิ่งเร้าที่เป็นกลาง ไม่สร้างการกระตุ้นใดๆ ได้กลายเป็นสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข

Pavlov พบว่าสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ จะต้องใช้สิ่งเร้าทั้งสองอย่างใกล้ชิดในเวลาใกล้เคียงกัน หรือแทบจะทันที (เช่น กระดิ่ง) เขาเรียกสิ่งนี้ว่ากฎแห่งความต่อเนื่องชั่วขณะ หากเวลาระหว่างสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (กระดิ่ง) กับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (อาหาร) มีช่วงเวลาห่างกันเกินไป การเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน

Pavlov และการศึกษาเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของเขา ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในช่วงปี 1890-1930 ซึ่งการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก คำว่า “คลาสสิก (Classic)” ก็มาจากการที่การทดลองนี้เป็นการศึกษากฎพื้นฐานของการเรียนรู้ และยังเป็นการค้นพบการวางเงื่อนไขอย่างเป็นทางการครั้งแรก

สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ แบบวางเงื่อนไข

สรุป การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (ภายหลังถูกพัฒนาต่อโดย Watson, 1913) เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้ทำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะตัว (เช่น น้ำลายไหล) กับสิ่งเร้าใหม่ (แบบมีเงื่อนไข) เพื่อให้สิ่งเร้าใหม่ทำให้เกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน

Pavlov พัฒนาคำศัพท์ทางเทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมามากมายในขณะนั้น เพื่ออธิบายกระบวนการนี้ ได้แก่ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus: UCS) เป็นวัตถุหรือเหตุการณ์ที่สร้างการตอบสนองแบบสะท้อนกลับ / ตามธรรมชาติ ซึ่งการตอบสนองต่อสิ่งนี้เรียกว่าการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response: UCR) สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus: NS) เป็นสิ่งเร้าใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง

เมื่อสิ่งเร้าที่เป็นกลางเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ก็จะกลายเป็นสิ่งเร้าแบบมีเงื่อนไข (Conditioned Stimulus: CS) การตอบสนองแบบมีเงื่อนไข (Conditioned Response: CR) คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบมีเงื่อนไข

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  TRENDING
โรคผมร่วงเป็นหย่อม – ALOPECIA คือ ? 2 months ago
Hologram คือ อะไร? (โฮโลแกรม) 2 months ago
การล้างไตทางช่องท้อง คือ 2 months ago
การทำ IF คือ ? การกำหนดช่วงเวลาอดอาหารแบบมีความรู้ 2 months ago
จิตอาสา คือ ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? 2 months ago
Next
Prev
แชร์ไปให้เพื่อนๆ ของคุณ
Source: simplypsychology.org
Previous Post

ทฤษฎีความเชื่อมโยง (Connectivism) ในการจัดการศึกษา

Next Post

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner

Noom Atthachai

Noom Atthachai

Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University

Related Posts

การสื่อสารที่ดี
How to

4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ

by Noom Atthachai
2 months ago
25

"ทักษะการสื่อสาร" และ "ความสามารถในการสื่อสาร" สะท้อนความสามารถในการทำงานของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน หลายคนอาจคิดว่าตราบใดที่ยังทำงานได้ดี "ทักษะการสื่อสารที่ดี"...

Read more
การเขียนอ้างอิง
Educational Management

การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม

by Noom Atthachai
2 months ago
25

บรรณานุกรม (Bibliography) คือ การรวบรวมแหล่งสืบค้นข้อมูล และสื่อประเภทต่างๆ ซึ่ง การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม เป็นการแสดงหลักฐาน และสร้างความน่าเชื่อของข้อมูล ...

Read more
Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?
What is

Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?

by Noom Atthachai
3 months ago
49

Soft Skills คือ? ในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงแค่ทำงานเก่ง หรือมีความรู้ด้านเทคนิค (Hard Skill) สูง อาจทำให้คุณกลายคนสำคัญในองค์กร แต่ทักษะนั้นมีอะไรบ้าง...

Read more
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner
Education

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner

by Noom Atthachai
3 months ago
29

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner ถูกพัฒนาต่อยอดจาก ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov ด้วยความสงสัยที่ว่าการวางเงื่อนไขดังกล่าว สามารถนำมาใช้กับมน…

Read more
ทฤษฎีความเชื่อมโยง (Connectivism) ในการจัดการศึกษา
Educational Management

ทฤษฎีความเชื่อมโยง (Connectivism) ในการจัดการศึกษา

by Noom Atthachai
3 months ago
61

ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น และเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น โดยคำว่า H …

Read more
Next Post
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ Watson และ Rayner

Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?

Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?

ADVERTISEMENT
JAHNNOOM.COM

© 2022 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Navigate Site

  • About
  • Blog
  • Privacy
  • Contact

Follow Us

No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว

© 2022 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

[ Placeholder content for popup link ] WordPress Download Manager - Best Download Management Plugin

×

Table of Contents

    เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุ้กกี้.