
Noom Atthachai
A Government Teacher
Master | Chulalongkorn University
Bachelor | Silpakorn University
A Government Teacher
Master | Chulalongkorn University
Bachelor | Silpakorn University
Present Continuous คือ หนึ่งใน Tense รูปแบบหนึ่งจากทั้งหมด 12 แบบในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับ Present Simple รูปแบบของ Tense นี้ จะมีความง่าย และไม่มีความซับซ้อนเช่นกัน เหมาะแก่การเรียนและเข้าใจโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในระดับเริ่มต้น เราจะเห็น Present Continuous Tense ตั้งแต่การเรียนในระดับประถมเป็นต้นไปเลยนั่นเอง
สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า Tenses คืออะไร สามารถติดตาม สรุป Tenses ฉบับรวมรัด เข้าใจง่าย ทั้ง 12 แบบ ในภาพรวมก่อนได้เลยครับ
Present Simple Tense มีโครงสร้างประโยค คือ Subject (S.) หรือประธานของประโยค + is/am/are หรือ Verb to be ในช่อง 1 + V.ing หรือกริยาช่อง 1 ที่เติม -ing นั่นเอง
โดยมี กฎการเลือกใช้ Verb to be คือ
หากประธานของประโยค (Subject) คือ “I” V. to be ที่ใช้คือ “am”
หากประธานของประโยค (Subject) คือ “He, She, It” หรือประธาน “เอกพจน์” (Singular) V. to be ที่ใช้คือ “is“
หากประธานของประโยค (Subject) คือ “You, We, They” หรือประธาน “พหูพจน์” (Plural) V. to be ที่ใช้คือ “are”
ในขณะที่ การเติม -ing หลัง V. มีกฎดังนี้
หากกริยาตัวนั้น “เป็นสระตัวเดียว และมีตัวสะกดตัวเดียว” ให้ “เบิ้ลตัวสะกดเข้าไปอีกตัว” ก่อนเติม -ing
หากกริยาตัวนั้น “ลงท้ายด้วย e” ยกเว้นกริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้ “ตัด e ทิ้ง” ก่อนเติม -ing
หากกริยาตัวนั้น “ลงท้ายด้วย ie” ให้ “เปลี่ยน ie เป็น y” ก่อนเติม -ing
นอกเหนือจากนี้ กริยาทั้งหมดสามารถเติม -ing ตามปกติได้เลย
มักจะมาพร้อมกับ คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา ณ ปัจจุบัน (Adverb of Time: Present Continuous) อยู่ด้วยในประโยค ได้แก่ Now, Right now, today, at present, at the moment, at this time เป็นต้น หรือวลีในรูปคำสั่งต่างๆ ที่มาพร้อมเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) เช่น Look!, Watch out! เป็นต้น
เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ อาจจะก่อนหน้านั้นนิดหน่อย หรืออยู่ในห้วงเวลาขณะกำลังพูดพอดี
นอกจากจะใช้กับ Present Simple เหตุการณ์ที่บอกความถี่ของการกระทำ สามารถใช้คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ (Adverb of Frequency) ได้เช่นเดียวกัน
เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่มีการวางแผนไว้แล้ว ตารางเวลาล่วงหน้า หรือมีการนัดกันแล้ว ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่มีกระบวนการการพัฒนา หรือมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานึง สามารถใช้ Present Continuous ได้
โดยเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่จะใช้ Past continuous tense และเหตุการณ์ที่เข้ามาแทรกจะใช้ Past simple tense นั่นเอง มักจะมีคำว่า when หรือ while เพื่อเชื่อมเหตุการณ์ทั้งสองเข้าด้วยกัน
โดยประโยคแบบนี้จะใช้ Past continuous tense กับทุกเหตุการณ์
Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University