วันอังคาร, มีนาคม 21, 2023
  • EnglishEnglish
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
No Result
View All Result
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)

เมื่อการเรียนรู้..เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

Noom Atthachai by Noom Atthachai
Reading Time: 6 mins read
88
SHARES
1.3k
VIEWS
แชร์ลงเฟสบุ๊คแชร์ผ่านทวิตเตอร์แชร์ผ่านไลน์

เป็นหนึ่งในทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการทดลองที่สำคัญ ด้วยการจับแมวใส่ในกรงแล้วให้แมวหาทางออกเองด้วยการลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ นั่นก็คือ Edward Lee Thorndike ซึ่งต่อมา ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ นำไปสู่ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทำ (Condintioning Operant) ของ Skinner นั่นเอง

Edward Lee Thorndike (ค.ศ.1874-1949) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)

การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus: S) กับการตอบสนอง (Response: R) มีหลักการพื้นฐาน ก็คือ “การเรียนรู้ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง” โดยที่การตอบสนองนั้นจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด โดยธอร์นไดค์เรียกการตอบสนองนี้ว่า “การลองผิดลองถูก” (Trial and Error) จากผลการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีการเชื่อมโยงที่ได้นี้ ทำให้ Thorndike สามารถสรุปกฎการเรียนรู้ออกเป็น 2 กฎ ดังนี้

กฎการเรียนรู้หลัก 3 ข้อ (The 3 Laws of Learning)

1. กฎแห่งความพร้อม (Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ เมื่อผู้เรียนมีความพร้อมจะกระทำหรือเรียนรู้แล้ว และได้กระทำหรือได้เรียนรู้ตามความต้องการ ผู้เรียนผู้นั้นจะเกิดความพึงพอใจจนทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น 

อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้กระทำหรือเรียนรู้ตามความต้องการ ผู้เรียนผู้นั้นก็จะเกิดความไม่พอใจหรือ ไม่สบายใจ ส่งผลให้เกิดความเครียดและไม่สามารถเรียนรู้ได้ดีเต็มประสิทธิภาพ

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Exercise) แบ่งเป็นกฎแห่งการใช้ (Law of Use) คือ เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว หากได้รับการฝึกฝนหรือกระทำบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญและกลายเป็นความเคยชิน จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเชี่ยวชาญมากขึ้นเท่านั้น 

และกฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuse) คือ พฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม หากมีการเว้นระยะเวลานานหรือขาดการฝึกฝนนานเกินไป ไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ ทักษะนั้นก็จะไม่คงทนถาวร ประสิทธิภาพลดลง และอาจลืมได้ในที่สุด

3. กฎแห่งผลการตอบสนอง (Effect) พฤติกรรมใดก็ตามเมื่อตอบสนองหรือกระทำแล้วได้รับความสุข ความพึงพอใจ และความภูมิใจ ผู้เรียนก็อยากที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นต่อไป กลับกันหากพฤติกรรมนั้นทำแล้วได้รับความทุกข์หรือไม่มีความสุข ผู้เรียนก็จะลดการกระทำพฤติกรรมนั้นลง และในที่สุดก็ไม่กระทำพฤติกรรมนั้นอีกเลย

กฎการเรียนรู้ย่อย 5 ข้อ (Subordinate Laws of Learning)

1. กฎแห่งการแสดงพฤติกรรมตอบสนองหลายรูปแบบ (Multiple Response) เมื่อผู้เรียนพบสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาหลายรูปแบบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบพฤติกรรมที่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้อง และในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้น ในครั้งต่อ ๆ ไป ผู้เรียนจะลดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมออก จนเหลือแต่พฤติกรรมที่ถูกต้องและเพียงวิธีเดียวในที่สุด

2. กฎแห่งการเตรียมพร้อมหรือเจตคติ (Set of Attitude) ผู้เรียนที่มีความพร้อมหรือมีเจตคติที่ดีจะสามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าผู้เรียนที่ขาดความพร้อมหรือมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงควรมีการเตรียมความพร้อมและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนให้กับผู้เรียนก่อนเสมอ

3. กฎการเลือกพฤติกรรมตอบสนอง (Law of Partial Activity) ผู้เรียนจะเลือกแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อใช้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นปัญหา และเมื่อค้นพบพฤติกรรมตอบสนองที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้แล้วก็จะหยุดพฤติกรรมลองผิดลองถูกลง ในบางครั้งวิธีการแก้ปัญหามีหลายวิธี ผู้เรียนก็จะเลือกวิธีที่สะดวกและเสียเวลาน้อยที่สุดมาใช้

4. กฎแห่งการตอบสนองโดยอาศัยประสบการณ์ที่มีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องกัน (Law of Response Analogy) เมื่อผู้เรียนประสบกับปัญหา ผู้เรียนผู้นั้นมีแนวโน้มที่จะนำเอาประสบการณ์จากการแก้ปัญหาในอดีตที่มีความคล้ายคลึง ใกล้เคียง หรือเกี่ยวข้องกันมาใช้ในการแก้ปัญหา ดังนั้นในการเรียนรู้ หากเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วกว่าเรื่องที่ยังไม่เคยเรียนรู้มาเลย

5. กฎแห่งการถ่ายโยงจากสิ่งเร้าเก่าไปสู่สิ่งเร้าใหม่ (Law of Association Shifting) ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น ถ้าผู้เรียนผู้นั้นมองเห็นสิ่งเร้าใหม่และสิ่งเร้าที่เคยประสบมามีความสัมพันธ์กันจะทำให้การกระทำสิ่งเร้าใหม่กระทำได้ง่ายขึ้น เช่น หากนักเรียนเคยใช้สมาร์ทโฟนมาแล้ว ก็จะเรียนรู้วิธีการพิมพ์คีย์บอร์ดบนคอมพิวเตอร์ได้เร็วกว่าปกติ เป็นต้น 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ โดยสรุป

Thorndike (1905) นำเสนอแนวคิดเรื่องการเสริมแรงและเป็นคนแรกที่นำหลักการทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้

งานวิจัยของเขานำไปสู่ทฤษฎีและกฎแห่งการเรียนรู้มากมาย เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขการกระทำของ Skinner (1938) 

นอกจากนี้ งานวิจัยของ Thorndike ได้ขับเคลื่อนจิตวิทยาเชิงเปรียบเทียบมากว่า 50 ปี และยังมีอิทธิพลต่อนักจิตวิทยานับไม่ถ้วนในช่วงเวลานั้น กระทั่งถึงทุกวันนี้

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  TRENDING
AI คืออะไร? ปัญญาประดิษฐ์ วิทยาการที่น่าค้นหาหรือน่ากลัว? 3 สัปดาห์ ago
ปณิธานปีใหม่ (New year’s resolution) คือ? 3 เดือน ago
Work-Life Balance เรียนรู้การปรับสมดุลชีวิตการทำงาน 3 เดือน ago
ใช้ชีวิตอย่าง Productive พิชิตเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ 3 เดือน ago
สาเหตุและโทษ ของการติด การพนัน 3 เดือน ago
Next
Prev
Source: simplypsychology.org
Previous Post

คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง

Next Post

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)

Noom Atthachai

Noom Atthachai

Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University

Related Posts

สกินเนอร์
Education

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)

by Noom Atthachai
กันยายน 28, 2022
1.7k

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ หนึ่งในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม โดย สกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้...

Read more
T-score คือ
Educational Management

คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง

by Noom Atthachai
กันยายน 24, 2022
252

T-score คือ คะแนนที่ได้จากการแปลงค่าคะแนนดิบที่ได้ ด้วยโปรแกรมสูตรตาราง Excel ทำได้เองไม่ยาก ใครที่กำลังประเมินวิทยฐานะ ตาม ก.ค.ศ.3 สามารถโหลดไปใช้งาน...

Read more
การสื่อสารที่ดี
How to

4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ

by Noom Atthachai
มีนาคม 29, 2022
47

"ทักษะการสื่อสาร" และ "ความสามารถในการสื่อสาร" สะท้อนความสามารถในการทำงานของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน หลายคนอาจคิดว่าตราบใดที่ยังทำงานได้ดี "ทักษะการสื่อสา...

Read more
การเขียนอ้างอิง
Educational Management

การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม

by Noom Atthachai
มีนาคม 18, 2022
46

บรรณานุกรม (Bibliography) คือ การรวบรวมแหล่งสืบค้นข้อมูล และสื่อประเภทต่างๆ ซึ่ง การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม เป็นการแสดงหลักฐาน และสร้างความน่าเชื่อของข...

Read more
Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?
What is

Soft skills คือ? มีอะไรบ้าง แตกต่างจาก Hard Skills อย่างไร?

by Noom Atthachai
มีนาคม 18, 2022
133

Soft Skills คือ? ในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงแค่ทำงานเก่ง หรือมีความรู้ด้านเทคนิค (Hard Skill) สูง อาจทำให้คุณกลายคนสำคัญในองค์กร แต่ทักษะนั้นมีอ...

Read more
Next Post
สกินเนอร์

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning - Skinner)

รถยนต์สตาร์ทไม่ติด

รถสตาร์ทไม่ติด ไฟหน้าปัดขึ้น แก้ปัญหาอย่างไร?

JAHNNOOM.COM

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Navigate Site

  • About
  • Blog
  • Privacy
  • Contact

Follow Us

No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • EnglishEnglish

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

[ Placeholder content for popup link ] WordPress Download Manager - Best Download Management Plugin

×

Table of Contents

    เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุ้กกี้.
    Go to mobile version