ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)

สกินเนอร์

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เป็นหนึ่งในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ที่คิดค้นขึ้นโดย สกินเนอร์ (B. F. Skinner) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้น โดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ๆ ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น

Burrhus Frederic Skinner (ค.ศ.1904–1990) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

สกินเนอร์

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ถูกคิดค้นโดยสกินเนอร์ (B.F. Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดยในคริสต์ศักราช 1950 สหรัฐอเมริกาได้ประสพกับวิกฤตการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพ  สกินเนอร์จึงได้คิดค้นแนวทางและวิธีสอนขึ้นมาใหม่ เพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่องมือที่คิดค้นขึ้นมาและประสบผลสำเร็จ เรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

กล่องของ สกินเนอร์ (Skinner Box)

ระหว่างที่สกินเนอร์อยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขาเริ่มสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมีวัตถุประสงค์และเป็นวิทยาศาสตร์ จึงได้พัฒนาสิ่งที่เขาเรียกว่าเครื่องมือสำหรับวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งต่อมากลายเป็นที่รู้จักในชื่อ กล่องสกินเนอร์ (Skinner Box)


โดยกล่องสกินเนอร์ เป็นกล่องที่มีแท่งหรือกลไกที่สัตว์สามารถกดเพื่อรับอาหาร น้ำ หรือรูปแบบการเสริมแรงอื่นๆ นกพิราบและหนูมักถูกใช้ในการทดลองและศึกษาสำหรับอุปกรณ์นี้

ขั้นตอนการทดลองของสกินเนอร์

ขั้นที่ 1 เตรียมการทดลอง ทำให้หนูหิวมาก ๆ เพื่อสร้างแรงขับ (Drive) ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องให้หนูคุ้นเคยกับกล่องของสกินเนอร์

ขั้นที่ 2 ขั้นการทดลอง เมื่อหนูหิวมาก ๆ สกินเนอร์ปล่อยหนูเข้าไปในกล่องสกินเนอร์ หนูจะวิ่งสเปะสปะและแสดงอาการต่าง ๆ เช่น การวิ่งไปรอบ ๆ กล่อง การกัดแทะสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในกล่องซึ่งหนูอาจจะไปแตะลงบนคานที่มีอาหารซ่อนไว้ หนูก็จะได้อาหารกินจนอิ่มและสกินเนอร์สังเกตเห็นว่า ทุกครั้งที่หนูหิวจะใช้เท้าหน้ากดลงไปบนคานเสมอ

ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบการเรียนรู้ สกินเนอร์จะจับหนูเข้าไปในกล่องอีก หนูจะกดคานทันที แสดงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วว่า การกดคานจะทำให้ได้กินอาหาร สรุปจากการทดลองนี้แสดงว่า การเรียนรู้ที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง

กฎการเสริมแรง

มีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง
2. อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ เช่น ตารางกำหนดการเสริมแรงบางอย่าง ทำให้มีอัตราการตอบสอนงมากและบางอย่างมีอัตราการตอบสนองน้อย เป็นต้น

การนำไปใช้ในการเรียนการสอน

1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นคำชม เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม ส่วนกฎที่ 2 คือกฎการเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแต่จะเหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กโต เป็นต้น

2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนวความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขในห้องเรียน ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อย และยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึงเสนอบทเรียนสำเร็จรูป โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ทฤษฎีของ สกินเนอร์ โดยสรุป

สกินเนอร์ได้แบ่งทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior) ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนด

2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) โดยวิธีการให้การเสริมแรง มี 2 วิธี คือ

2.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร

2.2 ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  TRENDING
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)
9 hours ago
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)
2 days ago
คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง
3 days ago
โรคผมร่วงเป็นหย่อม – ALOPECIA คือ ?
6 months ago
Hologram คือ อะไร? (โฮโลแกรม)
6 months ago
Next
Prev