ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)

ทฤษฎีพุทธินิยม ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งมองว่าไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกเพียงเท่านั้น แต่การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่านั้น เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกแห่งความจริง การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

ทฤษฎีพุทธินิยม

ADVERTISEMENT

แนวคิดของ ทฤษฎีพุทธินิยม

บุคคลแต่ละคนจะมีโครงสร้างความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญา (Schema) ภายในมีลักษณะเป็นโหนด (Node) หรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ การที่มนุษย์จะรับรู้อะไรใหม่ ๆ มนุษย์จะนำความรู้ที่เพิ่งได้รับซึ่งอยู่ ในรูปของความจำชั่วคราว (Short–term Memory) ไปเชื่อมโยงกับความรู้ที่มีอยู่เดิม (Background Knowledge) เกิดเป็นความรู้/ความจำถาวร (Long–term Memory) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งที่ได้รับในปัจจุบัน กับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัย “กระบวนการทางปัญญา” (Cognitive Process) เข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการทางปัญญาเน้นการรับรู้ การระลึก/จำได้ การคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การสร้างจินตนาการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล

นักทฤษฎีการศึกษากลุ่มพุทธินิยม ได้แก่

Jean William Fritz Piaget (ค.ศ.1896–1980) – นักจิตวิทยาชาวสวิส

Jerome Seymour Bruner (ค.ศ.1915–2016) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

David Paul Ausubel (ค.ศ.1918–2008) – นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ​

  TRENDING
4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ
17 hours ago
ลองโควิด คืออะไร? สาเหตุและวิธีรับมือ
2 days ago
การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม
5 days ago
เปลี่ยนถ่านรีโมทรถยนต์ ยี่ห้อต่างๆ ใช้ถ่านรุ่นไหน เบอร์อะไร?
6 days ago
วิธี จุดเตาถ่าน ให้ติดไฟอย่างรวดเร็ว
1 week ago
Next
Prev