วันพุธ, กุมภาพันธ์ 8, 2023
  • EnglishEnglish
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
No Result
View All Result
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result

วPA คือ? การประเมิน พิจารณาเงินเดือนและขอวิทยฐานะรูปแบบใหม่

Noom Atthachai by Noom Atthachai
Reading Time: 3 mins read
27
SHARES
380
VIEWS
แชร์ลงเฟสบุ๊คแชร์ผ่านทวิตเตอร์แชร์ผ่านไลน์

วPA — PA ย่อมาจาก Performance Agreement แปลตรงตัวได้ว่า ข้อตกลงด้านประสิทธิภาพ
ดังนั้น วPA จึงหมายถึง การประเมินผลการปฏิบัติงาน นั่นเอง โดยเป็นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ ทั้งการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)

จุดเด่นของ วPA

การประเมินด้วยรูปแบบ วPA จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของข้าราชการครูในหลากหลายมิติมากขึ้น และมีความเป็นวิชาการมากขึ้น ทั้งศักยภาพด้านภาระงานที่ได้ปฏิบัติ จุดเด่นและจุดด้อยในการรับผิดชอบงานต่าง ๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลที่ได้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวเองของข้าราชการครูแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาให้มีคุณภาพอีกด้วย 

ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงาน (วPA) จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญของสถานศึกษาที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี

วPa

วPA มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง

  1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  2. คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

โดยประเด็นท้าทายที่กำหนดในระดับการปฏิบัติที่คาดหวังแบ่งได้ตามระดับวิทยฐานะ ดังนี้

  1. กรณีที่ยังไม่มีวิทยฐานะ
    1. ครูผู้ช่วย ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปฏิบัติและเรียนรู้ (Execute & Learn) สามารถปฏิบัติงานและเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง

    2. ครู ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ปรับประยุกต์ (Apply & Adapt) สามารถปรับประยุกต์การจัดการเรียนรู้และปฏิบัติงาน จนปรากฏผลลัพธ์กับผู้เรียนได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง

  2. กรณีที่มีวิทยฐานะ

    1. ครูชำนาญการ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ แก้ไขปัญหา (Solve the Problem) สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

    2. ครูชำนาญการพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ ริเริ่ม พัฒนา (Originate & Improve) สามารถริเริ่มพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

    3. ครูเชี่ยวชาญ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent & Transform) สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยน ให้คุณภาพ การเรียนรู้สูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำปรึกษาผู้อื่น

    4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ประเด็นท้าทายที่กำหนดคือ สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create & Impact) สามารถคิดค้น พัฒนา นวัตกรรม เผยแพร่ และขยายผล จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาผู้อื่น และเป็นผู้นำ

  TRENDING
ปณิธานปีใหม่ (New year’s resolution) คือ? 1 เดือน ago
Work-Life Balance เรียนรู้การปรับสมดุลชีวิตการทำงาน 1 เดือน ago
ใช้ชีวิตอย่าง Productive พิชิตเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ 1 เดือน ago
สาเหตุและโทษ ของการติด การพนัน 2 เดือน ago
งาน ฟรีแลนซ์ คือ อะไร? 2 เดือน ago
Next
Prev

วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (สำหรับตำแหน่งครูขึ้นไป)

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัด สพฐ. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการในการประเมิน
  2. กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3  อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเหมาะสมก็ได้

ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน  บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร

เกณฑ์การประเมิน

สำหรับเกณฑ์การตัดสินทั้ง 2 ด้าน

  1. ครูชำนาญการ (คศ. 2) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ในแต่ละด้าน
  2. ครูชำนาญการพิเศษ (คศ. 3) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 ในแต่ละด้าน
  3. ครูเชี่ยวชาญ (คศ. 4) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 ในแต่ละด้าน
  4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ. 5) จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 ในแต่ละด้าน
การดำเนินการ

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ 

  1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน แล้วแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF 
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
  3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
  4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นข้าราชการครูทุกท่าน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เอกสารคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้ข้าราชการครูมีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

Icon

เอกสารคู่มือ วPA ฉบับเต็ม

1 file(s) 0.00 KB
Download
Icon

แบบข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA (ครูผู้ช่วย-ครู).doc

1 file(s) 24.81 KB
Download
Icon

แบบข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA (ครูชำนาญการ).doc

1 file(s) 25.18 KB
Download
Icon

แบบข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA (ครูชำนาญการพิเศษ).doc

1 file(s) 25.22 KB
Download
Icon

แบบข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA (ครูเชี่ยวชาญ).doc

1 file(s) 25.22 KB
Download
Icon

แบบข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA (ครูเชี่ยวชาญพิเศษ).doc

1 file(s) 25.27 KB
Download
Icon

ตัวอย่างข้อตกลงในการปฏิบัติงาน PA จากคณะครูโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์

1 file(s) 0.00 KB
Download

รูปภาพโดย: เอกชัย เชียงคำ

Source: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
Previous Post

Future Perfect Continuous คือ? หลักการใช้

Next Post

Stative Verb คือ? กริยาที่ไม่แสดงออก

Noom Atthachai

Noom Atthachai

Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University

Related Posts

สกินเนอร์
Education

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)

by Noom Atthachai
กันยายน 28, 2022
1.2k

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ หนึ่งในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม โดย สกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้...

Read more
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
Education

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)

by Noom Atthachai
กันยายน 28, 2022
1k

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการทดลองที่สำคัญ ด้วยการจับแมวใส่ในกรงแล้วให้แมวหาทางออ...

Read more
T-score คือ
Educational Management

คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง

by Noom Atthachai
กันยายน 24, 2022
165

T-score คือ คะแนนที่ได้จากการแปลงค่าคะแนนดิบที่ได้ ด้วยโปรแกรมสูตรตาราง Excel ทำได้เองไม่ยาก ใครที่กำลังประเมินวิทยฐานะ ตาม ก.ค.ศ.3 สามารถโหลดไปใช้งาน...

Read more
การสื่อสารที่ดี
How to

4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ

by Noom Atthachai
มีนาคม 29, 2022
41

"ทักษะการสื่อสาร" และ "ความสามารถในการสื่อสาร" สะท้อนความสามารถในการทำงานของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน หลายคนอาจคิดว่าตราบใดที่ยังทำงานได้ดี "ทักษะการสื่อสา...

Read more
การเขียนอ้างอิง
Educational Management

การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม

by Noom Atthachai
มีนาคม 18, 2022
44

บรรณานุกรม (Bibliography) คือ การรวบรวมแหล่งสืบค้นข้อมูล และสื่อประเภทต่างๆ ซึ่ง การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม เป็นการแสดงหลักฐาน และสร้างความน่าเชื่อของข...

Read more
Next Post
Prefix-Suffix-Root words Ep.3

Stative Verb คือ? กริยาที่ไม่แสดงออก

Prefix-Suffix-Root words Ep.3

Adverb of Frequency คือ? คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่และกิจวัตร

JAHNNOOM.COM

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Navigate Site

  • About
  • Blog
  • Privacy
  • Contact

Follow Us

No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • EnglishEnglish

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

[ Placeholder content for popup link ] WordPress Download Manager - Best Download Management Plugin

×

Table of Contents

    เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุ้กกี้.
    Go to mobile version