
Noom Atthachai
A Government Teacher
Master | Chulalongkorn University
Bachelor | Silpakorn University
A Government Teacher
Master | Chulalongkorn University
Bachelor | Silpakorn University
ทฤษฎีสรรคนิยม หรือ ชื่อภาษาอังกฤษว่า คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ เชื่อว่า ผู้เรียนจะต่อยอดจากประสบการณ์และความเข้าใจก่อนหน้านี้เพื่อ “สร้าง” ความเข้าใจใหม่ ซึ่งผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (Active Engagement) ในสังคมเท่านั้น เช่น การทดลองหรือการแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความจริง เป็นต้น
เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน โดยเชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นมาจากภายในของตัวผู้เรียนเอง โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ ผ่านการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อม หรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ (Background Knowledge) และสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือ เรียกว่า โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) ซึ่งก็คือ ความรู้ นั่นเอง
เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนกลุ่มแนวคิดสรรคนิยม คือการสนับสนุนการสร้างเสริมมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล และเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายตามสภาพจริงของผู้เรียน
Jean William Fritz Piaget (ค.ศ.1896–1980) – นักจิตวิทยาชาวสวิส
Lev Semenovich Vygotsky (ค.ศ.1896–1934) – นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย
Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University