วันพุธ, กุมภาพันธ์ 8, 2023
  • EnglishEnglish
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
        • Primary English — อังกฤษประถม
        • Secondary English — อังกฤษมัธยม
        • Advanced English — อังกฤษระดับสูง
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
No Result
View All Result
JAHNNOOM.COM
No Result
View All Result

ทฤษฎีการเรียนรู้ ในการศึกษายุคปัจจุบัน (Theory of Learning)

ทฤษฏีการเรียนรู้ มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

Noom Atthachai by Noom Atthachai
Reading Time: 3 mins read
182
SHARES
2.6k
VIEWS
แชร์ลงเฟสบุ๊คแชร์ผ่านทวิตเตอร์แชร์ผ่านไลน์

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ทางการศึกษาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไร ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ?

เดิมทีแล้ว ทฤษฎีทางการศึกษา ไม่ได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้อย่างจริงจังจนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยก่อนหน้านี้ก็เพียงการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล ซึ่งเป็นการศึกษาและค้นพบว่าความรู้และความจริงสามารถพบได้ในตัวเอง (ลัทธิเหตุผลนิยม) หรือผ่านการสังเกตจากภายนอก (ประสบการณ์นิยม)

จนในศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาเริ่มตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายคือการเข้าใจอย่างเป็นกลางว่าผู้คนเรียนรู้อย่างไรและพัฒนาวิธีการสอนตามนั้น

และในศตวรรษที่ 20 ก็มีการถกเถียงกันในหมู่นักทฤษฎีการศึกษา ระหว่าง “ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม” และ “ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยม” ว่าผู้คนเรียนรู้ผ่านการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หรือผ่านการใช้สมองเพื่อสร้างความรู้จากข้อมูลภายนอกกันแน่

ทฤษฎีการเรียนรู้ ส่งผลต่อการศึกษาอย่างไร?

เดิมทีหลายคนอาจคิดว่าการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่เด็กนักเรียนทุกคนต้องพบเจอ เพราะจะยังไงทุกคนก็ต้องไปโรงเรียนและเรียนรู้สิ่งเดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย

นักทฤษฎีทางการศึกษาจำนวนมาก ให้คำแนะนำว่า จริงๆ แล้วมีแนวทางการจัดการศึกษามากมายที่เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน และสามารเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น อันจะทำให้ครูเหนื่อยน้อยลง และนักเรียนเองก็เข้าใจเรื่องที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งศาสตร์และศิลป์ของการสอนเหล่านี้ นักทฤษฎีทางการศึกษาหลายคนได้เป็นผู้บุกเบิกโดยที่ได้ศึกษาและคิดค้น “ศาสตร์แห่งการเรียนรู้” เพื่อดูว่าสิ่งใดใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อไหร่ และจะเหมาะสมกับใครบ้างนั่นเอง

สำนักการศึกษานานาชาติ กล่าวว่า“การเรียนรู้ที่ดี เป็นกระบวนการที่เกิดมาจากการนำประสบการณ์ส่วนตัวและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมารวมกัน และส่งผลให้เกิดการเพิ่มคุณค่า และปรับเปลี่ยนมาเป็นความรู้ ทักษะ ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม และโลกทัศน์ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ ก็มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนดังกล่าว”  

โดยทั่วไปแล้ว มีทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ที่ครูผู้สอนควรนำไปใช้ในชั้นเรียน ได้แก่

  • ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้สรรคนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้มนุษยนิยม
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ความเชื่อมโยง

นักทฤษฎีการศึกษา ครู และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าทฤษฎีเหล่านี้สามารถมอบแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จและเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบแผนการสอนและพัฒนาหลักสูตร

ทฤษฎีการเรียนรู้
ADVERTISEMENT

ทฤษฎีการเรียนรู้ ประเภทต่างๆ

ในปัจจุบัน หลังจากการศึกษาค้นคว้า และอภิปรายจำนวนมาก ได้ก่อเกิดทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎีดังต่อไปนี้

1. พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จะศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้น มีการตอบสนอง และสังเกตได้ เท่านั้น เนื่องจากสามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบและปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน”

การเกิดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีนี้ ขึ้นอยู่กับ ระบบของกิจวัตรที่ “ฝึกฝน” พฤติกรรมหรือข้อมูลใหม่เข้าสู่สมองของผู้เรียน รวมถึงการเสริมแรงเชิงบวก (Positive Feedback) จากครูผู้สอนและสถานศึกษาด้วย ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนทำผลงานได้ดีเยี่ยม พวกเขาจะได้รับคำชมและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ผู้เรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติม

2. พุทธินิยม (Cognitivism)

ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ จะอาศัยทั้งปัจจัยภายนอก (เช่น ความรู้หรือข้อมูล) และกระบวนการคิดภายในประกอบกัน

ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นในปี 1950 โดยเปลี่ยนจากพฤติกรรมนิยม มาเน้นที่บทบาทของจิตใจในการเรียนรู้ ตามที่สำนักการศึกษานานาชาติ : “ในด้านจิตวิทยาความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งผู้เรียนคือผู้ประมวลผลข้อมูล ดูดซับ และดำเนินการ เป็นผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเก็บไว้เป็นความจำของตนเอง” อ่านเพิ่มเติม

3. สรรคนิยม หรือ คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)

ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ เชื่อว่า ผู้เรียนจะต่อยอดจากประสบการณ์และความเข้าใจก่อนหน้านี้เพื่อ “สร้าง” ความเข้าใจใหม่

ซึ่งผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (Active Engagement) ในสังคมเท่านั้น เช่น การทดลองหรือการแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความจริง เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

4. มนุษยนิยม (Humanism)

“ แนวทางที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ” ซึ่งเน้นศักยภาพมากกว่าวิธีการหรือสื่อการเรียนการสอน

ด้วยความเข้าใจว่าผู้เรียนเป็นผ้าขาว มนุษยนิยมจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างสภาพแวดล้อม อันเปรียบเสมือนการเติมสีไปบนผ้า ซึ่งเอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง ด้วยทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะได้รับการตอบสนอง และพวกเขาก็มีอิสระที่จะกำหนดเป้าหมายของตนเองในขณะที่ครู เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitators) ในการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เหล่านั้น อ่านเพิ่มเติม

5. ความเชื่อมโยง (Connectivism)

ในยุคดิจิทัล ทฤษฎีความเชื่อมโยง ถูกแยกออกจาก ทฤษฎีสรรคนิยม โดยการระบุและแก้ไขช่องว่างในความรู้

โดยทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทฤษฎีความเชื่อมโยง มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของผู้เรียนในการจัดหาและอัปเดตข้อมูลที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าจะหาข้อมูลที่ดีที่สุดได้อย่างไรและจากที่ใดมีความสำคัญพอๆ กับข้อมูล อ่านเพิ่มเติม

ทำไมทฤษฎีการเรียนรู้จึงสำคัญ?

ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะของมนุษย์ที่ต้องการความรู้ ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา และผู้นำทางความคิดมากมายจึงอุทิศตนเพื่อศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ เพราะการทำความเข้าใจวิธีการที่มนุษย์เรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเรียนรู้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือวิทยาลัยครู รวมถึงการจัดอบรมสัมมนาสำหรับบุคลากรทางการศึกษา จึงใช้เวลาอย่างมากในการให้นิสิต และนักศึกษาที่จะมาเป็นครูในอนาคต ศึกษาการพัฒนามนุษย์และทฤษฎีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่เด็กจะสามารถเรียนรู้และเกิดพัฒนาการทางปัญญา อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูทุกคนในการเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดหน้าชั้นเรียน

Untitled design

“ไม่มีนักเรียนสองคนไหน ที่จะเรียนรู้แบบเดียวกันหรือในอัตราที่เท่ากันทุกประการ เช่นเดียวกับการที่ไม่มีคนสองคนไหนในโลก จะมีรูปพรรณที่เหมือนกันทุกประการ บุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์การสอนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กทั้งหมดได้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นก้าวแรกที่สำคัญ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ครูธรรมดาๆทั่วไป ก้าวผ่านไปสู่ ยอดครูผู้เชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสอน”

Pamela Roggeman

-
คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟีนิกซ์

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นครู นักเรียน หรือผู้ปกครองของนักเรียน การรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีแต่ละข้อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ได้ดียิ่งขึ้น

มีทฤษฎีอื่น ๆ ในการศึกษาหรือไม่?

เช่นเดียวกับตัวนักเรียน ทฤษฎีการเรียนรู้ในการศึกษามีความหลากหลายและหลากหลาย นอกเกนือจาก 5 ทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีทฤษฎีอื่นๆ อีก ได้แก่

  • ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปฏิรูป (Transformative) : ทฤษฎีนี้มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ข้อมูลใหม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของเราได้โดยพื้นฐานแล้วเมื่อประสบการณ์ชีวิตและความรู้ของเราถูกจับคู่กับการไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณ
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social) : ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการโดยปริยายของแรงกดดันจากเพื่อนฝูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนสังเกตนักเรียนคนอื่นและจำลองพฤติกรรมของตนเองตามนั้น บางครั้งก็เป็นการเลียนแบบเพื่อน บางครั้งก็เป็นการแยกแยะตัวเองจากคนรอบข้าง การควบคุมพลังของทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับการดึงดูดความสนใจของนักเรียน โดยเน้นที่วิธีที่นักเรียนสามารถเก็บข้อมูล ระบุว่าเมื่อใดจึงจะเหมาะสมที่จะสร้างพฤติกรรมก่อนหน้านี้ และกำหนดแรงจูงใจของนักเรียน
  • ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential) : มีความคิดโบราณและคำอุปมามากมายเกี่ยวกับการสอนบางสิ่งโดยการทำสิ่งนั้น ถึงแม้ว่ามันจะกลายเป็นทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นทางการจนถึงต้นทศวรรษ 1980 ก็ตาม แนวทางนี้เน้นทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างและประสบการณ์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้

ทฤษฎีทางการศึกษา มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างไร?

ทฤษฎีการศึกษามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ สำหรับครู ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้สามารถส่งผลต่อแนวทางการสอนและการจัดการห้องเรียน การค้นหาแนวทางที่เหมาะสม (แม้ว่าจะเป็นการรวมทฤษฎีการเรียนรู้ตั้งแต่ 2 ทฤษฎีขึ้นไป) สามารถก่อให้เกิดประสบการณ์และการสร้างแรงบันดาลใจในห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพได้

วิธีประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้

ประสบการณ์ที่เรามีต่อทฤษฎีการเรียนรู้ในฐานะนักเรียน มีอิทธิพลต่อรูปแบบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เราชื่นชอบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น หากใครก็ตามมีประสบการณ์ในชั้นเรียนที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้ทางสังคมในวัยประถม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนๆนั้น จะรู้สึกถนัดและทำงานได้อย่างไหลลื่นในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการทำงานร่วมกันสูง เป็นต้น

โดยสรุป

ทฤษฎีการศึกษา มีการพัฒนามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยของโสกราตีส ผู้ที่ซึ่งน่าจะเป็นคนบุกเบิกทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีพุทธินิยม และในห้วงแห่งการพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผ่านมา (และเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกในอนาคต) ครูและนักเรียนจำเป็นจะต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากวิวัฒนาการนี้ให้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ตราบที่เราทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดในการพัฒนาความรู้ของตัวเอง และทำความเข้าใจว่ามนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร

Source: Phoenix.edu
Previous Post

เฉดสีเขียว (Shade of Green)

Next Post

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

Noom Atthachai

Noom Atthachai

Atthachai Sriworabhat - Master’s of Education (M.Ed.) in Educational Management at Chulalongkorn University - Bachelor’s of Education (B.Ed.) in English Major at Silpakorn University

Related Posts

สกินเนอร์
Education

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Operant Conditioning – Skinner)

by Noom Atthachai
กันยายน 28, 2022
1.2k

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ หนึ่งในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม โดย สกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้...

Read more
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
Education

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)

by Noom Atthachai
กันยายน 28, 2022
1k

ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการทดลองที่สำคัญ ด้วยการจับแมวใส่ในกรงแล้วให้แมวหาทางออ...

Read more
T-score คือ
Educational Management

คะแนน t-score คือ? สูตร Excel ตาราง

by Noom Atthachai
กันยายน 24, 2022
165

T-score คือ คะแนนที่ได้จากการแปลงค่าคะแนนดิบที่ได้ ด้วยโปรแกรมสูตรตาราง Excel ทำได้เองไม่ยาก ใครที่กำลังประเมินวิทยฐานะ ตาม ก.ค.ศ.3 สามารถโหลดไปใช้งาน...

Read more
การสื่อสารที่ดี
How to

4 วิธีในการพัฒนา “ทักษะการสื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพ

by Noom Atthachai
มีนาคม 29, 2022
41

"ทักษะการสื่อสาร" และ "ความสามารถในการสื่อสาร" สะท้อนความสามารถในการทำงานของเราว่ามีคุณภาพแค่ไหน หลายคนอาจคิดว่าตราบใดที่ยังทำงานได้ดี "ทักษะการสื่อสา...

Read more
การเขียนอ้างอิง
Educational Management

การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม

by Noom Atthachai
มีนาคม 18, 2022
44

บรรณานุกรม (Bibliography) คือ การรวบรวมแหล่งสืบค้นข้อมูล และสื่อประเภทต่างๆ ซึ่ง การเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม เป็นการแสดงหลักฐาน และสร้างความน่าเชื่อของข...

Read more
Next Post
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)

ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)

JAHNNOOM.COM

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Navigate Site

  • About
  • Blog
  • Privacy
  • Contact

Follow Us

No Result
View All Result
  • Education
    • Subjects — วิชาต่าง ๆ
      • English — เรียนภาษาอังกฤษ
    • Take the exam — ทำข้อสอบ
      • English Exam — ข้อสอบภาษาอังกฤษ
    • Worksheet — ใบงานวิชาต่างๆ
      • English Worksheet — ใบงานภาษาอังกฤษ
      • Science Worksheet — ใบงานวิชาวิทยาศาสตร์
      • Thai Worksheet — ใบงานวิชาภาษาไทย
      • Math Worksheet — ใบงานวิชาคณิตศาสตร์
    • Educational Management — บริหารการศึกษา
    • Thai Education News — ข่าวการศึกษาไทย
  • Definition
    • What is — คืออะไร
    • How to — ทำยังไง
    • Trending — ทันโลก
  • Passion
    • Football — ฟุตบอล
    • Movies — หนัง
    • Music — ดนตรี
    • Food — อาหาร
    • Travel — ท่องเที่ยว
  • See More
    • About — เกี่ยวกับ
    • Blog — บล็อก
    • Privacy Policy — นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • EnglishEnglish

© 2023 Jahnnoom.com - Atthachai Sriworabhat

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

[ Placeholder content for popup link ] WordPress Download Manager - Best Download Management Plugin

×

Table of Contents

    เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุ้กกี้.
    Go to mobile version